Last updated: 3 ก.ค. 2564 | 8585 จำนวนผู้เข้าชม |
เมื่อถูกฟ้องในเรื่องเช่าซื้อรถยนต์ แยกพิจารณาดังนี้
1. กรณีผู้เช่าคืนรถยนต์ ให้แก่ผู้ให้ผู้เช่า โดยถูกต้อง ไม่มีความผิดใดๆตามสัญญาเช่า ในส่วนนี้ ผู้เช่า ไม่ต้องรับผิดในเงินที่ ค่าขาดราคา ( ฎีกาที่ 5239/2561) หมายความว่า เมื่อผู้เช่าคืนรถฯโดยชอบ ผู้ให้เช่านำรถฯออกขาย ได้เงินน้อย กว่าราคารถฯ ผู้ให้เช่าก็ไม่มีสิทธิจะเรียกเงินส่วนที่ขาดจากผู้เช่าได้อีก
2. กรณีสมัครใจเลิกสัญญา ผู้ให้เช่าไม่มีสิทธิเรียกเงินค่าขาดราคา ตามข้อ ๑. แต่มีสิทธิเรียกค่าเสียหาย หรือค่าขาด ประโยชน์ ในระหว่างที่ผู้เช่าครอบครองรถฯโดยไม่ชำระค่าเช่าซื้อ จนถึงวันยึดรถฯ ส่วนใหญ่จะเรียกมาเท่ากับ จำนวนค่างวดแต่ละงวด ศาลจะใช้ดุลยพินิจในการลดจำนวนเงิน เพราะเงินค่าส่งงวดรถ ประกอบด้วย ราคารถ+ค่าเช่า
ฎีกาที่ 3668/2532 ศาลฎีกาจะลดเงินในส่วนนี้ เนื่องจากส่วนใหญ่จะเบิกความลอยๆ ไม่สามารถพิสูจน์ได้ตามจำนวนค่างวดรถฯ ที่ขอมา
3. กรณีตามยึดรถฯ
3.1 กรณียึดรถคืน ในส่วนนี้ ทางโจทก์ จะมีข้อผิดพลาดอยู่หยาลประการ เป็นแนวทางต่อสู้ ของเราเลยครับ เมื่ออ่านคำฟ้องโดยละเอียดจะเห็นว่าเรามีข้อต่อสู้อยู่หลายประการ ฉะนั้นท่านควรมอบหมายให้ทนายความทำคดี เสียน้อยจะเสียยากเสียมากจะเสียง่าย เราเป็นลูกหนี้ถ้าเราไม่ให้การต่อสู้เท่ากับเรายอมรับตามที่โจทก์เขาฟ้องมา
3.2 กรณียึดรถมาแล้วนำออกขายทอดตลาด มีความเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ผู้ให้เช่าซื้อได้ทำตามสัญญาที่ให้กับเราหรือไม่
กรณีถูกฟ้องเรืองเช่าซื้อรถยนต์ ไม่ต้องตกใจ มีทางแก้ไขครับ
1. กรณีคืนรถไปแล้ว ยังถูกฟ้องให้ชำระเงินส่วนต่าง
2. กรณีไม่คืนรถ ถูกตามยึด ต้องเสียเงินเป็นค่าอะไรบ้าง
ปรึกษาเราได้ครับ แนวทางการต่อสู้คดี 063-5955444
ตรินัยน์ โชติเศรษฐ์ภาคิน (น.บ. , เนติบัณฑิตไทย สมัยที่ ๕๙)
23 พ.ค. 2567
28 ต.ค. 2563
7 มิ.ย. 2567
22 พ.ค. 2567