Last updated: 25 มี.ค. 2563 | 4777 จำนวนผู้เข้าชม |
อยากจะเสนอในเรื่องความเท็จ ความเท็จนั้นแม้แต่ในทางธรรม ยังมีปรากฎในศีลห้า และในทางโลก การกล่าวในบางเรื่องอาจผิดกฏหมายได้ เช่น การพูดเท็จต่อศาลในการพิจารณาคดี หรือที่เรียกว่าเบิกความเท็จ
ตามประมาลกฏหมายอาญามาตรา ๑๗๗ ผู้ใดเบิกความเท็จในการพิจารณาคดี ต่อศาล ถ้าความเท็จเป็นข้อสำคัญในคดี มีโทษจำคุกไม่เกิน ๕ ปี
กฏหมายประสงค์คุ้มครองเจ้าพนักงาน และคู่ความ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผลการพิจารณาถุกต้องและยุติธรรมมากที่สุด ดังนี้ การเบิกความเท็จจึงเป็นกฎหมายที่สำคัญในการพิจารณาเรื่องหลักฐาน กฎหมายจึงมีบทลงโทษ และการเบิกความเท็จนั้นที่สำคัญ ต้องเกี่ยวแก่ประเด็นข้อพิพาท มีผลในทางคดีเป็นข้อแพ้หรือชนะ
ดังนี้การเบิกความเท็จจึงเป็นเรื่องที่กฏหมายต้องการให้พยานพูดความจริง เพื่อพิสูจน์ ประเด็นแห่งคดี และเพื่อความยุติธรรม อีกทั้งการเบิกความเท็จต่อศาล ยังเป็นการให้ศาลนั้นพิจารณาผิดพลาด
มีคำพิพากษาฎีกามากมายที่ลงโทษผู้กระทำความผิดฐานนี้ อย่าคิดว่า การเบิกความเท็จ อาจจะไม่มีใครรู้ ไม่มีสิ่งใดที่จะคุ้มครองความเท็จให้คงอยู่ หรือน่าชื่นชม มีแต่ความจริงเท่านั้นที่จรรโลงโลกให้น่าอยู่ตราบทุกวันนี้ (การเบิกความเท็จก็คือการโกหกศาลนั้นเอง) ผลจะเป็นอย่างไรท่านคงทราบดี
ดังนี้หากท่านทำงาน อย่าให้ลูกความเบิกความเท็จ ควรให้พุดความจริง เพราะผลร้ายจะเกิดกับเขามิได้เกิดแก่ท่าน บาปกรรมมีจริงครับ
นายตรินัยน์ โชติเศรษฐ์ภาคิน (น.บ. , น.บ.ท. สมัยที่ ๕๙)
ทนายความ
28 ต.ค. 2563
23 พ.ค. 2567
7 มิ.ย. 2567
22 พ.ค. 2567