เจ้าของบ้าน กับเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

Last updated: 3 ก.ค. 2564  |  13812 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เจ้าของบ้าน กับเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน แตกต่างกันอย่างไร

 

 

 

เจ้าของบ้าน คือ ผู้มีกรรมสิทธ์ในบ้าน  ความเป็นเจ้าของบ้าน มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336

 

เจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน คือ ผู้มีชื่อทางทะเบียนราษฎร ว่าเป็นเจ้าบ้าน มีไว้ใช้เพื่อความสะดวกในทางทะเบียนราษฎร ในการย้านเข้า หรือย้ายออกจากทะเบียน จำต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าบ้าน.  



********อ้างถึงคำพิพากาษาศาลฎีกาที่ 38/2539 ******ที่ได้วินิจฉัยว่า

ลงชื่อเป็นเจ้าบ้านในหลักฐานทะเบียนราษฎร์ก็มิได้หมายความว่าจำเลยที่2

ผู้ขอออกเลขที่บ้านและมีชื่อเป็นเจ้าบ้านจะมีกรรมสิทธิ์ในบ้านหลังดังกล่าวเพราะหลักฐานดังกล่าวมิใช่หลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่ต้องการทราบว่าในหมู่บ้านนั้นมีบ้านอยู่กี่หลังและมีคนอาศัยอยู่ในบ้านที่ขอออกเลขที่บ้านกี่คนเพื่อประโยชน์ในทางทะเบียนราษฎร์เท่านั้น


*จึงมีความเข้าใจผิดๆว่า  เจ้าบ้าน คือเจ้าของบ้าน แท้จริงแล้วไม่ใช่ 


ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น. สาเหตุที่มีความเข้าใจผิดก็เนื่องมาจากบางครั้งการทำนิติกรรมบางอย่างต้องมีทะเบียนไปค้ำประกัน และต้องเป็นเจ้าบ้านถึงจะค้ำประกันได้.

แท้จริงแล้วการมีชื่อเป็นเจ้าบ้าน ไม่ได้เป็นเจ้าของบ้านเสมอไป 

หากมีกรณีพิพาทดังกล่าวปรึกษาทนายความ******

 

 

ทนายตรินัยน์   (นบ. ,เนติบัณฑิตไทย) 

สำนังงานตรินัยน์การทนายความ

 

 

Powered by MakeWebEasy.com