ผู้ค้ำประกันถูกฟ้อง ไม่สบายใจ ควรทำอย่างไรบ้าง

Last updated: 23 พ.ค. 2567  |  173058 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผู้ค้ำประกันถูกฟ้อง ไม่สบายใจ ควรทำอย่างไรบ้าง

 มีผู้สอบถามเข้ามาจำนวนมาก ผู้ค้ำประกันหลายท่านเป็นทุกข์และกังวล ร้อนใจนอนไม่หลับ 

เรียนผู้คำประกันทุกท่านครับ ตามกฎหมายใหม่มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 
ท่านที่ทำสัญญาประกันหลังวันที่ดังกล่าว  และหากลูกหนี้ผิดนัดหลังวันที่กฎหมายใหม่
มีผลบังคับใช้ต้องดำเนินการตามแห่งบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่
หากท่านถูกฟ้องในฐานะผู้ค้ำฯ  พิจารณาดังนี้
 
  1. ก่อนอื่นดูว่ามีจดหมายมาถึงผู้ค้ำ หรือไม่  (ถ้าไม่มี ไม่ต้องรับผิด) 
  2. ถ้ามี ดูว่าอยู่ในระยะ 60 วัน นับแต่ลุกหนี้ผิดนัดหรือไม่ ( บอกกล่าวก่อนผิดนัดก็ไม่ได้ ไม่มีผล)
  3. ถ้าพ้น 60 วันไปแล้วเราไม่ต้องรับผิด ค่าเสีย  ดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์ทั้งหลาย 
  4. นอกจากนี้ ผู้ค้ำยังมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำหนี้ก่อนตนได้  ตามที่กฎหมายให้สิทธิไว้ 


 

มีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่   5789/2562

สัญญาค้ำประกันทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557 ใช้บังคับ โดยพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้บัญญัติการใช้บังคับมาตรา 681/1 ไว้เป็นอย่างอื่น

ข้อสัญญาตามสัญญาค้ำประกันที่กำหนดให้จำเลยที่ 2 และที่ 3

ผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงใช้บังคับได้ ส่วนมาตรา 686 ที่แก้ไขใหม่ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ.2557

 

บัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันก่อนใช้สิทธิเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้

และหากเจ้าหนี้มิได้มีหนังสือบอกกล่าวภายใน 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัดให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน  

ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวนั้น มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้มาตรา 686 

ใช้บังคับนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ

เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2558

โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 28 มกราคม 2558 ไปยังจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงเป็นการบอกกล่าวก่อนวันที่จำเลยที่ 1 ผิดนัด ส่วนหนังสือบอกกล่าวลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้รับเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2559

แต่หน้าที่ในการส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์กรณีที่สัญญาเช่าซื้อเลิกกันนั้นเป็นหนี้ประธาน หาใช่ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ ตามมาตรา 686 วรรคสอง แต่อย่างใดไม่ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนหรือใช้ราคาแทนแก่โจทก์ด้วย

เป็นการบอกกล่าวเกินกำหนด 60 วัน จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงหลุดพ้นความรับผิดเฉพาะแต่ดอกเบี้ยและค่าสินไหมทดแทน ตลอดจนค่าภาระติดพันอันเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้บรรดาที่เกิดขึ้นภายหลังจากพ้นกำหนดดังกล่าว

มีข้อสังเกตุ 

-     แต่ถ้าหากว่าลูกหนี้ผิดนัด โจทก์ไม่มีหนังสือบอกกล่าวมาถึงจำเลย กรณีอย่างนี้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย

-   หากลูกหนี้ยังไม่ผิดนัดนำรถไปคืนโจทก์รับไว้ เป็นเลิกอย่างถูกต้อง ลูกหนี้ไม่ต้องลงชื่อเพื่อรับผิดกรณีส่วนต่าง

-   หากลูกหนี้ผิดนัด ๒ งวด แล้วจำเลยนำรถไปคืนเจ้าของรับรถไว้โดยไม่โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าเลิกสัญญากันโดยปริยาย จำเลยไม่ต้องรับผิดส่วนต่าง  

                ข้อแนะนำสำหรับทุกท่านนะครับ

หากคำประกันการเช่าซื้อรถยนต์  จำเลยและผู้ค้ำอาจไม่ต้องรับผิดตามจำนวนที่โจทก์ฟ้อง 

1. ค่าขาดราคา   กล่าวคือเมื่อเจ้าของยึดรถแล้วนำไปขายยังขาดราคาอยู่  เงินส่วนนี้โจทก์มักบรรยายว่าเงินค่าเช่าซื้อที่ยังขาดอยู่ แต่ศาลวางหลักว่าเป็นวิธีการกำหนดค่าเสียหายวิธีหนึ่งและกำหนดไว้ล่างหน้า จึงเป็นเบี้ยปรับศาลจะลดตามที่เห็นสมควร 


2. ค่าขาดประโยชน์  กล่าวคือการใชรถระหว่าที่ผิดนัดจนถึงยึดรถได้แล้ว เป็นเวลากี่เดือน  ส่วนพิจารณาจากอัตราค่าเช่าในท้องตลาดหากพิสูจน์ไม่ได้ ศาลท่านจะกำหนดให้ตามความเหมาะสม

ขอเรียนว่ากฎหมายมีเงื่อนแง่ ที่จะต้องพิจารณาหลายแง่มุม  นอกจากตัวบทกฎหมายแล้ว ยังมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาวางแนวทางการต่อสู้ไว้  ดังนั้น  หากมีข้อขัดข้องใจควรปรึกษาทนายความ  เพื่อหาแนวทางการต่อสู่ที่เหมาะสมกับรูปคดี จะเป็นผลดีต่อท่านมากกว่าที่ท่านจะดำเนินการด้วยตนเอง

 

สำนักงานกฏหมายตรินัยน์การทนายความ

ตรินัยน์  โชติเศรษฐ์ภาคิน (นบ., นบท.)  063-5955444

 

 

Powered by MakeWebEasy.com