Last updated: 21 มี.ค. 2563 | 2102 จำนวนผู้เข้าชม |
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนโจทก์ทำสัญญาเช่ากับเจ้าของ. แม้ต่อมาจำเลยจะขอเช่าจากเจ้าของและเจ้าของไม่ยอมให้เช่า. จำเลยก็หาได้ครอบครองที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิโจทก์ไม่. โจทก์จำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน. การที่จำเลยคงอยู่ในที่พิพาทโดยไม่มีสิทธิ. ก็เป็นการละเมิดต่อเจ้าของ มิใช่ละเมิดต่อโจทก์ซึ่งยังมิได้รับมอบการครอบครอง. โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย.
อธิบายได้ดังนี้ เรื่องหนี้ ,สิทธิเรียกร้อง (บุคคลสิทธิ), ทรัพยสิทธิ
1.โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากเจ้าของ โจทก์กับเจ้าของมีนิติสัมพันธ์กันในฐานะบุคคลสิทธิ (สัญญาเช่า เป็นมูลแห่งหนี้อย่างหนึ่ง เป็นบุคคลสิทธิ บังคับได้เฉพาะคู่กรณี)
2. ส่วนจำเลยกับโจทก์ ไม่มีนิติสัมพันธ์กันไม่ว่าฐานะใดๆ
3. จำเลยกับเจ้าของที่ดินพิพาทมีความสัมพันธ์ คือ เจ้าของที่ดินมีอำนาจแห่งทัรพยสิทธิ(เป็นเจ้าของที่ดินหรือผู้ทรงสิทธิ) บุคคลทั่วไปต้องเคารพแห่งทรัพยสิทธิ ห้ามละเมิด
ดังนี้ถ้าโจทก์จะฟ้องขับไล่จำเลย จึงไม่มีสิทธิใดๆที่จะอ้างเพื่อให้เกิดอำนาจฟ้อง
ฏีกาที่ 1610/2512
ตรินัยน์ โชติเศรษฐภาคิน (นิติศาสตร์, เนติบัณฑิตไทยสมัยที่ ๕๙)
ทนายความ
28 ต.ค. 2563
23 พ.ค. 2567
22 พ.ค. 2567
7 มิ.ย. 2567